ไฮดรอกซิล ตัวทำความสะอาดอากาศ
ผลิตจากวิถีทางธรรมชาติ

วิดีโอแสดงแบบจำลองการฆ่าเชื้อโรคและสารพิษในอากาศโดยไฮดรอกซิล (OH-)
โดยไฮดรอกซิลจะดึงอนุภาคไฮโดรเจนจากโปรตีนที่ห่อหุ้มเนื้อเยื่อชั้นนอกของเชื้อโรคออกมา
เกิดการผันตัวเป็นน้ำกลับสู่อากาศ เชื้อโรคจึงสลายตัว (ตาย)

ประจุไฮดรอกซิล (OH-) คืออะไร

  • ไฮดรอกซิลถูกสร้างมาจากแสงอาทิตย์และโอโซนกับน้ำในอากาศ (เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของประจุออกซิเจน 1 โมเลกุล (O1) และไฮโดรเจน 1 โมเลกุล (H1) ในรูปของพลาสม่า กลายเป็น OH-)
 
  • พบมากในชั้นบรรยากาศ ป่าดงดิบ แต่พบได้ค่อนข้างน้อยมากในอากาศระดับชั้นผิวโลก
 
  • ธรรมชาติใช้ไฮดรอกซิลในการกำจัดเชื้อโรค รวมถึงแก๊สเรือนกระจก (มีเทน CH4) แก๊สสารพิษต่างๆ เช่น ไนตรัสออกไซด์ (NOx) จนได้สมญานามว่า “Natural Detergent” (ตัวทำความสะอาดชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์)
ไฮดรอกซิลสามารถถูกผลิตได้จากหลากหลายวิธี แต่จากเครื่อง Wellis Air ที่ผลิตประจุจากตลับโอเลฟินส์ (สกัดจากเปลือกส้มไซตรัสออร์แกนิคจากแคลิฟอร์เนีย) ได้ปริมาณที่เข้มข้นที่ 8,000,000-10,000,000 /cc. เมื่อเทียบกับที่ธรรมชาติผลิต ซึ่งได้เพียง 200,000 – 8,000.000 / cc. 

ไฮดรอกซิล (OH-) กำจัดเชื้อโรคและสารพิษได้เหนือกว่าวิธีการฆ่าเชื้ออื่นๆ ในท้องตลาด

  • ไฮดรอกซิลจัดเป็น Oxidizing Agent หรือตัวฆ่าเชื้อที่มีความเข้มข้นเป็นอันดับ 2 รองจากฟลูออรีน ฆ่าเชื้อได้เหนือกว่าโอโซน (อันดับ 4) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (น้ำยาฆ่าเชื้อในห้องผ่าตัด) (อันดับ 5) และคลอรีน (อันดับ 7)
  • ถึงแม้ฟลูออรีนจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ดีเป็นอันดับ 1 แต่ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโดยตรง เนื่องจากเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์มาก แต่สามารถนำมาใช้ได้แค่เพียงเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑฺ์ต่างๆในปริมาณที่เล็กน้อยมากเท่านั้น เช่น ยาสีฟัน น้ำในสระว่ายน้ำ เป็นต้น
  • ส่วนโอโซนนั้นเป็นแก๊สพิษ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีไอระเหยที่ทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะของระบบหายใจ 

     

    ทั้งหมดนี้เลยทำให้ไฮดรอกซิลเป็นตัวเลือกฆ่าเชื้อที่เหนือกว่าตัวเลือกฆ่าเชื้ออื่น เพราะสามารถกำจัดเชื้อโรคได้เข้มข้นกว่า และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน 

ภาพแสดงการเปรียบเทียบความเข้มข้นในการฆ่าเชื้อโรคของไฮดรอกซิล (อันดับ 2) ที่เหนือกว่าโอโซน (อันดับ 4) และไฮโดรเจน
เปอร์ออกไซด์ (น้ำยาฆ่าเชื้อ) (อันดับ 5)

  • ตัวเลือกการฆ่าเชื้อตัวอื่นที่เป็นที่นิยม เช่น หลอด UVC ก็สร้างอันตรายต่อผู้ใช้งาน เช่น ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนัง ดวงตา เป็นต้น นอกจากนี้หลอด UVC รวมถึงเครื่องผลิตโอโซน น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ยังต้องคำนึงเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การจ้างผู้เชี่ยวชาญมาใช้งานอุปกรณ์ และข้อจำกัดการใช้งานต่างๆ อีกด้วย

(อ้างอิง: ประกาศเตือนการใช้หลอด UVC เครื่องอบโอโซน และน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยกรมควบคุมโรค ประกาศ ณ 10 มิถุนายน 2563) 
คลิกที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็ม

ไฮดรอกซิลในเครื่อง Wellis Air ฆ่าเชื้อถูกต้องตามหลักฆ่าเชื้อ 2C (อ้างอิงจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยวิทยาลัยขอนแก่น)

หลักการฆ่าเชื้อ 2C กล่าวว่าการฆ่าเชื้อที่ลดการแพร่กระจายเชื้อที่ดีต้องใช้สารฆ่าเชื้อที่ให้ความเข้มข้นสูง (concentrated) ในการฆ่าเชื้อนั้นๆ และต้องฆ่าเชื้ออย่างต่อเนื่อง (continuous) 

  • คณะวิจัยทำการทดลองเพื่อพิสูจน์หลักการนี้ด้วยการพ่นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (น้ำยาฆ่าเชื้อในห้องผ่าตัด) ใส่เชื้อในถาดทดลอง ผลพบว่าเชื้อตาย 99% หลังจากนั้นทำการปิดห้องทิ้งไว้ 1 คืนโดยไม่มีการฉีดพ่นซ้ำอีกในช่วงเวลาดังกล่าว ผลที่เกิดขึ้นในวันถัดมาคือเชื้อกลับมาเจริญเติบโตเป็นจำนวนเท่าเดิม ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของการฆ่าเชื้อที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค 
  • ดังนั้นตัวเลือกฆ่าเชื้ออื่น เช่น หลอด UVC เครื่องผลิตโอโซน และน้ำยาฆ่าเชื้อไม่สามารถลดโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้มากนัก เนื่องจากไม่สามารถฆ่าเชื้อได้อย่างต่อเนื่องตอนคนอยู่ได้ (ซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสแพร่เชื้อสู่กันได้ง่าย) เนื่องจากทำอันตรายต่อคนเมื่อสัมผัสอย่างใกล้ชิด

2 Comments

Leave a Reply

LINE

แชทกับผู้เชี่ยวชาญ

081-559-8555

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

Messenger

แชทกับผู้เชี่ยวชาญ

line